ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ราคาค่า(ฆ่า)ความหวาน

Title: ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ราคาค่า(ฆ่า)ความหวานAuthors: -Issue Date: มิถุนายน 2557Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ Abstract สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับกินฉลาดปราศโรคฉบับที่ 6 นี้ ขอเปลี่ยนบรรยากาศเน้นคุยด้วยภาพนะคะ ท่านเคยสังเกตไหมว่า ในปัจจุบันการเจ็บป่วยจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อ้วน หรือแม้แต่โรคหัวใจ ไม่จำเป็นต้องรอจนถึงวัยผู้ใหญ่แล้ว ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ท่านเคยคิดไหมว่า ทำอย่างไรสุดท้ายจะทำให้เด็กคิดและตัดสินใจ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดด้วยตัวของเขาเองได้ เพราะเราไม่สามารถอยู่กับเขา ได้ตลอดเวลา และตลอดชีวิต ปัจจุบันเราเห็นความพยายามของหลายฝ่าย ที่ช่วยกันสอน สั่ง และใส่ความรู้ให้ทั้งเด็กและคนรอบข้างอย่างมากมาย แต่มันเพียงพอแล้วหรือ? ท่านเคยสังเกตไหมว่า ในปัจจุบัน อาหารและเครื่องดื่มที่ให้บริการ นอกจากมีความหลากหลายแล้ว ยังมีหลายขนาดมากมายให้เลือกสรร และเพิ่มขนาดใหญ่ที่ใหญ่อยู่แล้วให้ใหญ่ขึ้นไปอีก รวมทั้งการใช้กลยุทธ ทางการตลาดและจิตวิทยามากมายในการหลอกล่อให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ดและเครื่องดื่มประเภทอัดลม จากข้อมูล ต่างประเทศพบว่า ขนาดแก้วของเครื่องดื่มที่ให้บริการลูกค้าในปัจจุบัน ใหญ่ขึ้นกว่าเมื่อ 50 ปีก่อน ถึง 6 เท่า ท่านอาจเคยได้ยิน [...]

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 อาหารโรงเรียน ปัญหาใหญ่ที่สังคมมองไม่เห็น

Title: ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 อาหารโรงเรียน ปัญหาใหญ่ที่สังคมมองไม่เห็นAuthors: -Issue Date: มกราคม 2557Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ Abstract เด็กเป็นผู้ที่จะได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะกินฉลาดปราศโรคฉบับที่ 5 ขออัญเชิญความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีเด็กสากลวันที่ 1 มกราคม 2522 เปิดนำเรื่องราวสาระ “เรื่องของเด็ก ที่ไม่เด็ก กับการจัดการอาหารที่เด็กคู่ควร” ในจดหมายข่าวฉบับนี้ ความเป็นห่วงคุณภาพของเด็กไทยจากอาหารโรงเรียนที่ตกเกณฑ์มาตรฐาน เป็นกระแสที่พูดถึงอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2556 และเนื่องด้วยปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ รัฐบาลเพิ่มงบประมาณอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนประถมศึกษาจาก 13 บาทเป็น 20 บาทต่อคน เมื่อปลายปี 2556 ปัญหา “อาหารโรงเรียน” ไม่ได้มีแค่อาหารและเครื่องดื่ม “ใน” โรงเรียนเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม “รอบรั้ว” โรงเรียนอีกด้วย และเราไม่ได้พบเพียงแค่ปัญหาคุณภาพของอาหารโรงเรียนที่มีคุณค่าสารอาหารต่ำกว่าที่เด็ก ควรได้รับในแต่ละวัน แต่ยังรวมถึงปัญหาคุณภาพ ความปลอดภัย และความเพียงพอของอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้ง [...]

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ฉลากโภชนาการ อ่านสักนิด ชีวิตดี๊ดี

Title: ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ฉลากโภชนาการ อ่านสักนิด ชีวิตดี๊ดีAuthors: -Issue Date: มิถุนายน 2558Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ Abstract ฉลากโภชนาการกับสุขภาพ พอพูดถึงสิทธิประโยชน์ ผู้เขียนเชื่อว่าใครๆ ก็อยากมีอยากใช้ แถมยังรู้สึกดีอมยิ้มแก้มตุ่ยทุกทีที่ได้ครอบครอง แต่เคยนึกทบทวน กันบ้างไหมคะว่าทุกวันนี้เราได้รับสิทธิประโยชน์อะไรกันบ้าง และเราใช้สิทธิ์ที่ได้มาเต็มที่หรือยัง ไม่แน่นะคะ บางทีอาจจะมีอะไรเล็ดลอด สายตาและเลยเวลาไปอย่างน่าเสียดาย.... หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าฉลากโภชนาการก็เป็นสิทธิประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ภาครัฐพยายามพัฒนามาให้เราใช้ แถมยังกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องแสดงฉลากตามกฎหมาย ซึ่งผู้ประกอบการต้องเสียเงินเสียทองมากมายเพื่อทำฉลากแปะบนซอง ผลิตภัณฑ์ ให้เราได้อ่านได้ใช้กัน แต่ก็น่าเสียดายที่พวกเราส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้ประโยชน์จากความพยายามเหล่านั้นเลยทำให้การลงทุนนั้น เปล่าประโยชน์ ซึ่งไม่แน่ว่าสิ่งที่ลงทุนไปนั้นอาจมาจากเงินของพวกเราซึ่งก็คือราคาสินค้าที่เขาบวกเพิ่มค่าทำฉลากมา นอกจากนี้การดำเนินการของรัฐก็มาจากเงินภาษีพวกเราทั้งนั้น ดังนั้นก็น่าจะดีหากพวกเราลองสละเวลาสักนิดหน่อยในการใช้ข้อมูลใน ฉลากโภชนาการเพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของพวกเราให้แข็งแรง แล้วฉลากโภชนาการมีประโยชน์อย่างไร ทำไมต้องอ่านต้องใช้ให้เป็น ก่อนอื่นเราก็ต้องตระหนักกันก่อนว่าคนเราเมื่อได้รับสารอาหารใน ปริมาณที่น้อยไปหรือมากไปก็เกิดผลเสียและอาจทำให้เกิดโรคกับร่างกายได้ทั้งนั้น ซึ่งบางโรคนั้นร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตกันเลยทีเดียว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมอง มะเร็ง และเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้นถ้าอยากแข็งแรงและมีชีวิตที่ยืนยาว ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่เราต้องยึดถือปฏิบัติคือ เราต้องกินให้เป็น จะว่าไปการอ่านฉลากโภชนาการก็เป็นเรื่องที่เรา ต้องใช้ความพยายามในการเรียนรู้สักหน่อยแต่ก็ไม่เหลือบ่ากว่าแรง ถือเป็นความละเอียดอ่อนที่เราต้องใส่ใจสักนิด [...]

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 Empty Calories วายร้ายใกล้ตัวคุณ

Title: ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 Empty Calories วายร้ายใกล้ตัวคุณAuthors: -Issue Date: ตุลาคม 2556Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ Abstract สวัสดีค่ะ กินฉลาดปราศโรคปีที่ 2 ฉบับที่ 3 นี้ กลับมาพร้อมกับข้อมูลสดๆร้อนๆ ที่ทีมวิจัย FHP ลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัยเมื่อเดือนที่ผ่านมาใน 4 ภูมิภาคและกรุงเทพ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ ทีมวิจัยได้ลงเก็บข้อมูลจากตัวอย่างอายุตั้งแต่ 18 ปี กว่า 1,200 คน ในหลายเรื่อง ทั้งการใช้ฉลากโภชนาการและพฤติกรรมทางสุขภาพต่างๆ แต่มีข้อมูลที่ทำให้ต้องรีบนำมาแลกเปลี่ยนคือ พฤติกรรมการดื่มที่ไม่ใช่เรื่องของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่เป็นการดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำรสผลไม้ การแฟเย็น ชาเขียวเย็น มากกว่าร้อยละ 90 ของคนไทยแต่ละภูมิภาคและกรุงเทพรายงานการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง โดยมากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มนี้อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และเกือบร้อยละ 50 [...]

ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ความจริงของโซเดียม ความจริงที่คุณและครอบครัวต้องรู้

Title: ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ความจริงของโซเดียม ความจริงที่คุณและครอบครัวต้องรู้Authors: -Issue Date: เดือนพฤษภาคม 2556Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ Abstract "กินฉลาดปราศโรค" ฉบับนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมรณรงค์ลดเค็ม เน้น "กิรรสจืด ยืดชีวิต" และ "ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทยห่างไกลโรค" ตามสโลแกนของเครือข่ายลดบริโภคเค็ม ซึ่งเราจะมีบทสัมภาษณ์ประธานเครือข่ายมาให้ทราบ และเรื่องราวสาระน่ารู้ตอบคำถาม "ภัยเงียบจากโซเดียม" "บริโภคโซเดียมแค่ไหน ถึงเรียกว่าพอ?" และ "ไม่ได้เป็นคนกินเค็ม แต่ทำไมรับมาเต็มๆ ทั้งความดันเลือดสูงและโรคไต" พร้อมเมนูชูลดเค็มสำหรับพ่อบ้านแม่บ้านค่ะ
1 32 33 34 35 36 40