ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 อาหารโรงเรียน ปัญหาใหญ่ที่สังคมมองไม่เห็น

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 อาหารโรงเรียน ปัญหาใหญ่ที่สังคมมองไม่เห็น

Download 21
Total Views 78
File Size 18.17 MB
File Type pdf
Download



Title: ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 อาหารโรงเรียน ปัญหาใหญ่ที่สังคมมองไม่เห็น
Authors: -
Issue Date: มกราคม 2557
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

Abstract

เด็กเป็นผู้ที่จะได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะกินฉลาดปราศโรคฉบับที่ 5 ขออัญเชิญความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีเด็กสากลวันที่ 1 มกราคม 2522 เปิดนำเรื่องราวสาระ “เรื่องของเด็ก ที่ไม่เด็ก กับการจัดการอาหารที่เด็กคู่ควร” ในจดหมายข่าวฉบับนี้ ความเป็นห่วงคุณภาพของเด็กไทยจากอาหารโรงเรียนที่ตกเกณฑ์มาตรฐาน เป็นกระแสที่พูดถึงอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2556 และเนื่องด้วยปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ รัฐบาลเพิ่มงบประมาณอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนประถมศึกษาจาก 13 บาทเป็น 20 บาทต่อคน เมื่อปลายปี 2556 ปัญหา “อาหารโรงเรียน” ไม่ได้มีแค่อาหารและเครื่องดื่ม “ใน” โรงเรียนเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม “รอบรั้ว” โรงเรียนอีกด้วย และเราไม่ได้พบเพียงแค่ปัญหาคุณภาพของอาหารโรงเรียนที่มีคุณค่าสารอาหารต่ำกว่าที่เด็ก ควรได้รับในแต่ละวัน แต่ยังรวมถึงปัญหาคุณภาพ ความปลอดภัย และความเพียงพอของอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้ง การเข้าถึงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ของเด็กได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ปัญหานี้ซับซ้อน เชื่อมโยงกันและกัน ดังนั้นทางออกของปัญหา จึงไม่สามารถแก้ได้ด้วยคำตอบง่ายๆ เพียงหนึ่งวิธี ด้วยคนหนึ่งคน หรือด้วยตัวเงินเพียงอย่างเดียวค่ะ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างประเทศที่เจอปัญหาอาหารโรงเรียนเป็นอาหารขยะ เด็กนักเรียนเป็นโรคอ้วนตั้งแต่เด็ก และพยายามมาตลอด 10 ปี เพื่อแก้ไขปัญหา จนในรัฐบาลปัจจุบันที่มี สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง อย่างนางมิเชลล์ โอบามา ลงมาเล่นเอง ประเด็นอาหารจึงกลายเป็นหนึ่งในประเด็นระดับชาติ ซึ่งทำให้เกิดการรวมตัวกันของนักวิชาการ รัฐ และภาค ประชาสังคม การร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม การมีส่วนร่วมจากภาคชุมชนและครอบครัว การร่วมสร้างช่องทางรณรงค์ สื่อสารสู่สังคม และการยกย่องเชิดชูระดับผู้ปฏิบัติที่ทำสำเร็จ ประเทศไทยยังคงต้องแก้ไขปัญหาอาหารโรงเรียนในเชิงระบบมากขึ้น บางทียุทธศาสตร์การตั้งต้นที่ระดับพื้นที่ เหมือนที่ องค์กรด้านอาหารและโภชนาการหลายแห่งพยายามดำเนินการอยู่ อาจช่วยสะท้อนปัญหาพื้นที่ และค้นหากลไก ต้นแบบในการจัดการปัญหาอาหารโรงเรียนที่เมื่อสำเร็จแล้ว จะสามารถใช้ต่อยอดพัฒนาเป็นกลไกระดับชาติ ต่อไป ก็เป็นได้นะคะ กินฉลาดปราศโรคฉบับนี้มาช่วยไขข้อสงสัยและเพิ่มสาระที่ว่า “สุขภาพเด็ก สัมพันธ์ (อย่างไร?) กับอาหารโรงเรียน” “ว่าด้วยเรื่องอนาคตของชาติ เด็กไทยได้กินอะไรเมื่อไปโรงเรียน” “บอกเล่าเก้าสิบ” “ส่องกล้องดูเงินค่าอาหารเด็กไทย” และ “อาหารโรงเรียน: ทำไมต้องทำการตลาด” ค่ะ พร้อมบทสัมภาษณ์เครือข่าย "โครงการตาม พระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี" ค่ะ