ช่องว่างเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนของประเทศไทย

ช่องว่างเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนของประเทศไทย

Download 62
Total Views 57
File Size 1.59 MB
File Type pdf
Download



ในเชิงนโยบาย ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญด้านมื้ออาหารกลางวันในโรงเรียนเป็นสำคัญ ในขณะที่มิติด้านอื่น ๆ ได้ถูกสอดแทรกไปตามยุทธศาสตร์ชาติต่าง ๆ มากมาย อาทิ กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ เป็นต้น

สำหรับเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนพบว่ามีลักษณะเป็นโครงการของรัฐเป็นส่วนใหญ่ ทั้งโครงการในระดับรัฐบาลและโครงการหน่วยงานรัฐ (ระดับกระทรวง (กรม) ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง) โดยโครงการของรัฐบาลที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน (ริเริ่มพ.ศ.2495) และโครงการอาหารเสริม (นม) ในโรงเรียน (ริเริ่มพ.ศ.2535) นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการต่าง ๆ มากมายเพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนาระบบการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน อาทิ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (กระทรวงสาธารณสุข) ที่กำหนดมาตรฐานการรับรองโรงเรียนสงเสริมสุขภาพระดับเพชร ทอง เงิน และทองแดง โครงการโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี (กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งมีการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียน และ โครงการเด็กไทยแก้มใส (สสส.) ที่พยายามพัฒนารูปแบบการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนที่ดีและยั่งยืน (Best Practice Model) เป็นแบบอย่างในการขยายผลทั่วประเทศ โดยโครงการเหล่านี้มีแนวทางในการดำเนินงานแบบองค์รวมครบวงจร ตามกรอบโยบายระหว่างด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนที่องค์การระหว่างประเทศแนะนำ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือนโยบายอื่น ๆ ที่สำคัญ อาทิ มาตรการโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการให้โรงเรียนหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงห้ามมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทุกประเภทในโรงเรียน ซึ่งมาตรการดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มที่สำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทางอาหารและป้องกันอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในโรงเรียนของประเทศไทย การพัฒนาโปรแกรม Thai School Lunch เพื่อสนับสนุนการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียน หรือ KidDiary application ซึ่งเป็นระบบที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลภาวะโภชนาการของเด็กระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และโรงพยาบาล เป็นต้น

เครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนในปัจจุบันยังมีช่องว่างที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) ประเทศไทยขาดการให้ความสำคัญในระดับนโยบายในการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนแบบองค์รวม และทำงานแยกส่วนกัน 2) โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนยังขาดความครอบคลุมนักเรียนทุกคนที่มีสิทธิ โดยเฉพาะนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมภาคเอกชน และนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน 3) ขาดเครื่องมือในการขยายผลโครงการสร้างสุขภาพให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน และ 4) เครื่องมือทางกฎหมายด้านการควบคุมการจำหน่ายและการตลาดอาหารไม่ดีต่อสุขภาพยังขาดความชัดเจนในการนำไปบังคับใช้ของโรงเรียนและขาดกลไกการติดตามประเมินผลที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังขาดความครอบคลุมโรงเรียนทุกสังกัด