การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการทำงาน: กรณีศึกษาของแม่ในกรุงเทพมหานคร

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการทำงาน: กรณีศึกษาของแม่ในกรุงเทพมหานคร

Download 93
Total Views 168
File Size 1.09 MB
File Type pdf
Download



ABSTRACT

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลายประการ ได้แก่ ปัจจัยจากตัวแม่เอง ปัจจัยจากคนรอบข้าง ครอบครัวและชุมชน บรรทัดฐานของสังคม ตลอดจนระบบบริการสุขภาพ สำหรับแม่ที่ทำงาน การทำงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญโดยเป็นอุปสรรคขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงต่าง ๆโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก รวมถึงการให้นมแม่ต่อเนื่องหลังครบ 6 เดือนแรกด้วย โดยจากการวิจัยพบว่าการทำงาน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่ในประเทศไทย ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนครบ 6 เดือนได้
จากข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมา ปัจจัยการทำงานของแม่ที่ส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประกอบด้วย ลักษณะการประกอบอาชีพ (เช่น การทำธุรกิจส่วนตัว การเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน) สถานที่ทำงานและระเบียบที่เกี่ยวข้องของสถานที่ทำงาน (เช่น สิทธิและระยะเวลาที่ให้ลาคลอด การจัดสถานที่สำหรับแม่เพื่อบีบเก็บน้ำ) นอกจากนี้ ความเครียดของแม่ระหว่างการทำงานยังส่งผลทำให้ปริมาณน้ำนมของแม่ลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างของความรู้ที่สำคัญอีกหลายประการที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่ทำงาน เพื่อนำไปใช้พัฒนานโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย

การศึกษาชิ้นนี้จึงสนใจศึกษามุมมองของแม่ต่อการต้องทำหน้าที่ในสองบทบาทคือการเป็นแม่ให้นมลูกและเป็นผู้หญิงทำงาน ว่ามีแนวคิด มีการวางแผน บริหารจัดการตัวเอง และมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถให้นมลูกต่อได้อย่างไร โดยเฉพาะแม่ทำงานในเขตเมือง โดยเป็นการศึกษากรณีตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทำความเข้าใจทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่ในเขตเมือง (2) เพื่อศึกษาการวางแผน การบริหารจัดการ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำงานในเขตเมือง และ (3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเกี่ยวกับการทำงานและปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่ทำงาน