การกำหนดและจัดลำดับหัวข้องานวิจัยสำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านโภชนาการ

การกำหนดและจัดลำดับหัวข้องานวิจัยสำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านโภชนาการ

Download 10
Total Views 48
File Size 674.79 KB
File Type pdf
Download



Title: การกำหนดและจัดลำดับหัวข้องานวิจัยสำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบายด้านโภชนาการ แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (แผนงาน FHP)
Authors: นางสาวพเยาว์ ผ่อนสุข และ นางสาวปฏิญญา ศรีใส
Issue Date: 8 กรกฎาคม 2562
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (แผนงาน FHP)

Abstract

แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (แผนงาน FHP) ได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2555 โดยในช่วงการดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึงเดือน พ.ค. 2557 ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวิจัยและจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายอาหารและโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต่อมาในช่วงเดือน มิ.ย. 2557 ถึง พ.ศ. 2561 ทำหน้าที่เพิ่มเติมในส่วนของการสนับสนุนงานวิจัยและบริหารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างเสริมความเข้มแข็งของนโยบายอาหารและโภชนาการ ที่ครอบคลุมทั้งด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัย และความมั่นคงทางอาหาร การดำเนินงานของ FHP จะเน้นการทำงานที่ครอบคลุมทั้งในเรื่องการผลิตองค์ความรู้และจัดการองค์ความรู้ การสังเคราะห์และเผยแพร่ความรู้ และการพัฒนาศักยภาพของนักวิชาการ รวมถึงการสนับสนุนด้านวิชาการ พัฒนาและประสานความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ ระหว่างแผนงานกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องโดยใช้ความรู้และกิจกรรมทางวิชาการเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนพลังด้านองค์ความรู้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ ร่วมด้วยพลังทางการเมืองการปกครอง และพลังสังคม เพื่อจัดการปัญหาด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้อง โดยแนวทางการดำเนินงานของแผนงาน FHP จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ ในประเด็นการส่งเสริมการจัดการความรู้ เพื่อนำไปสู่การสร้างพฤติกรรมและค่านิยมการบริโภคอาหารสุขภาวะในประชาชนไทย และจะเป็นอีกช่องทางที่จะช่วยประสานและสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิชาการกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายในทุกระดับ และทุกภาคส่วนเพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายมาตรการ กลไก ที่สนับสนุนระบบอาหารสุขภาวะ ความร่วมมือนี้ยังสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลาการทางวิชาการด้านพฤติกรรมการบริโภคของประเทศ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และดำเนินการวิจัยร่วมกันอีกด้วย

Related Works: