การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ในประเด็นการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มรสหวาน

Title: การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ในประเด็นการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มรสหวานAuthors: คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติIssue Date: -Publisher: สำนักกรรมาธิการ ๓ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ Abstract ปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้คือ การเพิ่มสูงขึ้นของอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases; NCDs) โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด หลอดเลือดสมอง เบาหวาน มะเร็ง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเป็นโรคเหล่านี้ก็คือโรคอ้วนและการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ[๑,๒] ในประเทศไทย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังก่อให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะเป็นอันดับต้นๆ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล[๒,๓] น้ำตาลเป็นอาหารที่หากบริโภคมากไปจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ฟันผุ โรคอ้วน เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น องค์การอนามัยโลกจึงได้มีคำแนะนำว่าบุคคลไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน ๕๐ กรัม/วัน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากน้ำตาล หรือควรบริโภคในปริมาณสูงสุด ๒๕ กรัม/วัน เพื่อกำจัดโอกาสเสี่ยง[๔] เครื่องดื่มรสหวาน (Sugar sweetened beverages: SSBs) ถูกจัดว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสม เพราะเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็วและให้พลังงานจำนวนมากแต่ไม่ให้สารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ หรือให้น้อยมาก โดยมีหลักฐานทางวิชาการที่ชี้ชัดว่าการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน รวมถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนอื่นๆ เช่น เบาหวาน และหัวใจและหลอดเลือด[๕] ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้มีมาตรการต่างๆ [...]

การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ในประเด็นฉลากโภชนาการ

Title: การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ในประเด็นฉลากโภชนาการAuthors: คณะกรรมาธิการปฏิรูประบบสาธารณสุข สภาปฏิรูปแห่งชาติIssue Date: -Publisher: สำนักกรรมาธิการ ๓ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ Abstract โรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก จนกลายเป็นวาระของการประชุมในระดับโลกหลายการประชุม และได้มีคำแนะนำรวมทั้งมีการกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายระดับโลกในการแก้ปัญหาดังกล่าว การเพิ่มขึ้นของอัตราชุกของโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมด้านอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสำคัญ ในประเทศไทย การบริโภคอาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและอาหารสำเร็จรูปกำลังจะกลายเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของคนไทย ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มสูงขึ้นของโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญกับนโยบายในการจัดการสินค้าอาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะมาตรการฉลากโภชนาการ ซึ่งการมีฉลากโภชนาการที่ดีนั้นนอกจากจะเป็นการรักษาสิทธิของผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541 ในการได้รับทราบคุณสมบัติของสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อแล้ว ยังจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมได้ และฉลากโภชนาการนับว่าเป็นมาตรการส่งเสริมสุขภาพที่มีความคุ้มทุนประสิทธิผลในการป้องกันโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน

Title: รายงานการโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มในช่วงเวลารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนAuthors: นงนุช ใจชื่นIssue Date: ตุลาคม 2557Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิสื่อสารมวลชนศึกษา โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนเพื่อสุขภาวะ Abstract โฆษณาทางโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงเด็กและมีอิทธิพลต่อการซื้ออาหารและการบริโภคของเด็กการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม ทางฟรีทีวีในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน วิธีการศึกษาการบันทึกรายการโทรทัศน์ในช่วงเวลาสำหรับเด็กและเยาวชนทางฟรีทีวีช่อง 3, 5, 7 และ 9 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 24 มีนาคม – 7 เมษายน 2557 ในวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเวลา 15.00-20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ช่วงเวลา 06.00-10.00 น.และ 15.00-20.00 น. คัดเลือกรายการในเวลาที่กําหนดตามจัดระดับความเหมาะสมเป็น น ป ด และรายการประเภท ท ที่มีโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มสูงสุด 3 อันดับรวมทั้งสิ้น 42 รายการโดยศึกษาโฆษณาตรงและโฆษณาแฝงเฉพาะโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสมต่อสุขภาพตามหลักเกณฑ์การจําแนกอาหาร (Nutrient Profile; NP)

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ กรณีภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล…ได้หรือเสีย?

Title: รายงานการประชุม เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ กรณีภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล...ได้หรือเสีย?Authors: -Issue Date: 29 มิถุนายน 2559Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ แผนงานเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน สมาพันธ์เครือข่าย NCDs แห่งประเทศไทย Abstract การประชุมนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ความคิดเห็นมุมมองของนักวิชาการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนำเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้แก่ การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินเกณฑ์สุขภาพมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งหลังจากที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้เสนอให้ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินเกณฑ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชนไทยนั้น ทำให้เกิดข้อสงสัยหรือข้อกังวลต่างๆ นานาๆ เช่น ทำไมต้องจัดเก็บภาษี ภาษีจะมีผลส่งเสริมสุขภาพได้จริงหรือไม่ ภาษีจะก่อภาระให้แก่ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีรายได้น้อยหรือไม่ ภาษีจะส่งผลกระทบไปถึงเกษตรกรรมไร่อ้อยและอุตสาหกรรมน้ำตาลหรือไม่ ภาษีอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการ เป็นต้น

สังคมสร้างสุขภาพ สุขภาพดีสร้างสังคม กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อ

Title: รายงานการประชุม สังคมสร้างสุขภาพ สุขภาพดีสร้างสังคม กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อAuthors: -Issue Date: วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP) Abstract การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ในแง่ของระบบสุขภาพ การปฏิรูปสุขภาพเริ่มต้นจากการมีประกาศ Alma-Ata Declaration ค.ศ.1978 และ Global Strategy for Health for All ค.ศ.2000 ซึ่งเป็นการปฏิรูปบริการปฐมภูมิจากนั้นได้มีการเปลี่ยนฉลากทัศน์จากการรักษามาสู่การสร้างเสริมสุขภาพ ตั้งแต่ คศ.1986 จนถึง 2015 โดยในระหว่างนั้น (ค.ศ.2010) ได้มีแนวคิดในการจัดการปัจจัยกำหนดทางสังคม (social determinants) ที่มีผลต่อสุขภาพ ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วน (multi-sectoral collaboration) และบูรณาการเปูาหมายทางด้านสุขภาพเข้าไปอยู่ในนโยบายด้านอื่นๆ ของประเทศ (health in all policies) ในช่วง ค.ศ.2014 นอกจากในด้านโครงสร้างของระบบและนโยบายแล้ว ยังมีพัฒนาการของผู้เล่นเช่นกัน โดยในขั้นแรกเป็นการมีความรู้เกี่ยวกับโรค ขั้นที่สองเป็นมีความรู้และทักษะในการรักษาโรค [...]
1 27 28 29 30 31 40