Title: ความยินดีจะจ่ายและความสามารถที่จะจ่ายได้สำหรับ ผู้บริโภคผักปลอดสารพิษในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Authors: พูนศักดิ์ บุญยัง
Issue Date: 2558
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่าความยินดีที่จะจ่ายสำหรับผักสดอินทรีย์ และปัจจัยที่มี
ผลต่อความยินดีที่จะจ่ายและความสามารถที่จะจ่ายซื้อผักสดอินทรีย์ได้ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 999 คนที่ซื้อผักและผลไม้ในซุปเปอร์มาเกต ร้านโครงการหลวง และตลาดสด
เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างซึ่งเป็นคำถามปลายปิด มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าตารางแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวัดระดับความสำคัญโดยใช้ Rating Scales ผลการวิจัย พบว่าด้านพฤติกรรมการซื้อผักสด พบว่า ส่วนใหญ่ซื้อผักสด 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ซื้อที่ตลาดนัดเกษตรอินทรีย์หรือร้านค้าเกษตรอินทรีย์ รองลงมาคือ ซุปเปอร์มาร์เกต และ ตลาดสด ตามลำดับ
โดยมีสัดส่วนการซื้อผักสดอินทรีย์ต่อปริมาณผักสดรวมร้อยละ 1-25 ทั้งนี้ เหตุผลที่เลือกซื้อผักสดอินทรีย์
ที่มีความสำคัญอันดับแรก คือ ผักสดอินทรีย์ดีต่อสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว และเหตุผลที่ไม่ซื้อผัก
สดอินทรีย์ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยซื้อผักสดอินทรีย์พบว่า สาเหตุอันดับ แรก คือ ตลาดที่ขายผักสด
อินทรีย์หายาก ส่วนสาเหตุอันดับรองลงมา คือ ผักสดอินทรีย์มีราคาแพง ความเข้าใจว่าผักสดอินทรีย์ไม่
แตกต่างจากผักทั่วไป การตัดสินใจซื้อผักสดอินทรีย์ที่มีตรารับรอง ผลการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่มีการตัดสินใจเลือกซื้อผักอินทรีย์ทั่วไปที่ไม่มีตรารับรองจากร้านค้าเกษตรอินทรีย์ และซุปเปอร์มาเกต ตามลำดับ โดยเหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกซื้อผักสดที่มีตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพราะเชื่อมั่นในความน่าเชื่อของตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และตรารับรองมาตรฐานฯ เป็นที่รู้จัก สำหรับการตัดสินใจซื้อผักสดอินทรีย์ใน อนาคตพบว่าโดยส่วนใหญ่ยินดีทีจะจ่าย เมื่อราคาสูงขึ้น ร้อยละ 1-25 เท่านั้น
Related Works:
การพลิกแพลงกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงภายหลังประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมกา...
รายงาน ผลกระทบของการระบาดของโรคโควิค-19 และมาตรการทางสังคม ต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้ที่มีรายได้น้อ...
ช่องว่างเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์ ถอดบทเรียนความสำเร็จเพื่อขยายผล กรณีศึกษา : โรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาสที่มีพัฒ...
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการทำงาน: กรณีศึกษาของแม่ในกรุงเทพมหานคร
รายงานประจำปี 2556 แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ