Title: สภาพแวดล้อมทางอาหารภายในมหาวิทยาลัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของนักศึกษาไทย
Authors: ปนัดดา จันทร์สุกรี และ วศิน แก้วชาญค้า
Issue Date: สิงหาคม 2561
Publisher: สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Abstract
อาหารและโภชนาการเป็นรากฐานของมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา การได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม ทั้งประเภทและปริมาณย่อมส่งผลกระทบทางลบต่อภาวะสุขภาพทั้งในปัจจุบันและต่อไปในอนาคต พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การบริโภคผักและผลไม้น้อย การบริโภคหวาน มัน เค็มที่มากเกินไป และการบริโภคอาหารอาหารที่ปรุงไม่สุกและไม่สะอาด ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพและลดจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกต้อง โดยเริ่มจากกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย (อายุ 18-21 ปี) ซึ่งเป็นวัยที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ และเป็นวัยที่มีพัฒนาการอย่างมากทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ในประเทศไทยวัยรุ่นตอนปลายส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วัยรุ่นจำนวนมากเริ่มมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การไม่รับประทานอาหารเช้า การรับประทานอาหารจานด่วน และการดี่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นดังกล่าวอาจส่งผลเสียในระยะยาวจนนำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ได้เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องและการสร้างเสริมพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายจะช่วยส่งเสริมให้วัยรุ่นไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และความสามารถ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าในอนาคต
Related Works:
การพลิกแพลงกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงภายหลังประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมกา...
รายงาน ผลกระทบของการระบาดของโรคโควิค-19 และมาตรการทางสังคม ต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้ที่มีรายได้น้อ...
ช่องว่างเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์ ถอดบทเรียนความสำเร็จเพื่อขยายผล กรณีศึกษา : โรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาสที่มีพัฒ...
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการทำงาน: กรณีศึกษาของแม่ในกรุงเทพมหานคร
รายงานประจำปี 2556 แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ