Title: การสำรวจทัศนคติ ความรู้และพฤติกรรมผู้บริโภคในการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน และทัศนคติต่อนโยบายการลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม
Authors: นางพิมพ์นภาณัท ศรีดอนไผ่, ดร.อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์, นายปิยณัฐ ศรีดอนไผ่
Issue Date: กรกฎาคม 2560
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP)
Abstract
คณะผู้วิจัยได้สำรวจทัศนคติการเลือกซือ้ เครื่องดื่มรสหวาน ความรู้ รูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานในนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยภาครัฐ และศึกษาทัศนคติต่อนโยบายการลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มของผู้ประกอบการภายในและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยภาครัฐ 5 พื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ. สกลนคร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ทัศนคติของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยเห็นด้วยว่าเครื่องดื่มรสหวานที่ขายในปัจจุบันมีส่วนประกอบของน้ำตาลสูง ปัจจุบันสามารถหาซื้อเครื่องดื่มรสหวานได้ง่ายขึ้น และมีแนวโน้มที่เห็นด้วยกับนโยบายการจัดให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยเพื่อเป็นการสร้างทางเลือกที่ดีทางหนึ่งให้กับผู้บริโภค ในด้านความรู้เรื่องน้ำตาลและคุณค่าทางโภชนาการเครื่องดื่มนักศึกษาและบุคลากรมีความรู้ระดับพอใช้ แต่ส่วนมากไม่รู้จักชนิดของน้ำตาลที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้แก่ ไฮฟรักโทสไซรัป นักศึกษาและบุคลากรไม่มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมการบริโภค โดยนิยมบริโภคเครื่องดื่มชงตามคำสั่งซ้ือสูงสุด รองลงมาคือเครื่องดื่มสำเร็จรูปในภาชนะที่ปิดสนิท มียี่ห้อ โดยส่วนมากดื่มเพราะชอบในรสชาติ สามารถเลือกซื้อได้ง่ายเนื่องจากอยู่ใกล้ที่พักหรือที่ทำงาน เป็นร้านมีทั้งอาหารและเครื่องดื่มจำหน่าย ทั้งนี้รูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน ส่วนมากนักศึกษาและบุคลากรดื่มเครื่องดื่ม
มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ 1 ครั้งต่อวัน โดยจะดื่มในช่วงวันเรียนหรือวันทำงาน และส่วนมากจะดื่มในช่วง 12.01-15.00 น. โดยมีค่าใช้จ่ายในการซือ้ เครื่องดื่มโดยเฉลี่ยที่ 21-30 บาทต่อครั้ง เมื่อพิจารณาข้อมูลความถี่และปริมาตรการดื่ม เครื่องดื่มรสหวานและความนิยมจากชนิดเครื่องดื่มค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำตาลที่บริโภคจากเครื่องดื่ม 32.8 กรัม คิดเป็น 8.2 ช้อนชา (ค่ามัธยฐานเท่ากับ 22.3 กรัม คิดเป็น 5.6 ช้อนชา) โดยปริมาณดังกล่าวมีค่าสูงกว่าปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้
บริโภค (added sugar) 24 กรัมต่อวัน อยู่ประมาณ 8.8 กรัม ด้านผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่มหรือผู้ขายเห็นด้วยว่าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสูงมีผลต่อสุขภาพ เช่น มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน สูงขึน้ และนอกจากนียั้งเห็นด้วยในการพัฒนาสูตรเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย มีประโยชน์ต่อสุขภาพและการจัดให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยจะเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ และส่วนมาก
เห็นว่าหากขึ้นภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง จะมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ขาย อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการร้านค้า โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าหากมีนโยบายส่งเสริมให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยจะเป็นร้านหนึ่งที่จำหน่ายเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อย
Related Works:
การพลิกแพลงกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงภายหลังประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมกา...
รายงาน ผลกระทบของการระบาดของโรคโควิค-19 และมาตรการทางสังคม ต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้ที่มีรายได้น้อ...
ช่องว่างเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์ ถอดบทเรียนความสำเร็จเพื่อขยายผล กรณีศึกษา : โรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาสที่มีพัฒ...
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการทำงาน: กรณีศึกษาของแม่ในกรุงเทพมหานคร
รายงานประจำปี 2556 แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ