การส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยจังหวัดจันทบุรี

การส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยจังหวัดจันทบุรี

Download 32
Total Views 80
File Size 18.19 MB
File Type pdf
Download



Title: การส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยจังหวัดจันทบุรี
Authors: นายณรงค์ อนุพันธ์, นายนิพนธ์ วุฒิชัย, นายศตวรรษ ทิพโสต, นางวัชรินทร์ อรรคศรีวร, นายชัยวิทย์ ถิระวณัฐพงศ์
Issue Date: 2558
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP)

Abstract

ในการวิจัยการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยจันทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาความรู้ ความตระหนัก พฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัย และปริมาณบริโภค ผักผลไม้เฉลี่ยต่อวันของประชาชนจังหวัดจันทบุรี จาแนกตามกลุ่มอายุ 2) เพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนจังหวัดจันทบุรีมีความรู้ เกิดความตระหนักใน การผลิตและบริโภค ผักผลไม้อย่างเพียงพอและปลอดภัย 3) เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายผู้ผลิตผักผลไม้ปลอดภัย และเชื่อมโยงการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภคผ่านแหล่งให้บริการอาหารต่าง ๆ และ 4) เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทางานโดยการมีส่วนร่วมระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยตลอด ห่วงโซ่อาหาร เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย 1) การสารวจความรู้ ความตระหนัก และพฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัย ของประชาชนในจังหวัดจันทบุรี ก่อนและหลังการดาเนินโครงการ 2) พัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตผักผลไม้ปลอดภัย สนับสนุนให้เกิด การรวมกลุ่มของเกษตรกร มีการกาหนดแนวทางปฏิบัติในการผลิตผักผลไม้ปลอดภัย มีกลไก การตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัย และการกระจายสินค้าที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 3) รณรงค์เพื่อสร้างความรู้ ความตระหนักในการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัย ผ่านสื่อและกิจกรรม (1) จัดกิจกรรมนิทรรศการให้ความรู้ในพื้นที่ต่าง ๆ ในสถานที่ต่าง ๆ ของชุมชน เช่น โรงเรียน ชุมชน (2) สื่อท้องถิ่น เช่นวิทยุชุมชน หอกระจายข่าวชุมชน หอกระจายข่าวโรงเรียน ป้ายรณรงค์ในสถานที่ราชการ (3) Social network เพื่อเผยแพร่ความรู้ เป็นตัวกลางในการเชื่อมผู้ผลิตและผู้บริโภค (4) สื่อสิ่งพิมพ์ที่เข้าใจง่าย แจกจ่ายให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อทาความเข้าใจกับประชาชน และ 4) ประเมินผลโดยการเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของ (1) ความรู้ ความตระหนักและพฤติกรรมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัยของผู้บริโภค (2) การทางานเป็นเครือข่ายของเกษตรกร (3) เกิดกลไกสนับสนุนเกษตรกรให้สามารถผลิตผักผลไม้ปลอดภัยและจาหน่ายสินค้าได้ในปริมาณและราคาที่เหมาะสมเป็นธรรม และ (4) การทางานที่มีการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ปลอดภัย การดาเนินกิจกรรมของแต่ละภาคส่วนที่สอดคล้องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริโภค กลุ่มผู้ผลิต และกลุ่มผู้สนับสนุน ตามกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จานวน 400 คน สาหรับกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างผู้ผลิต คือ เกษตรกรที่ทา การปลูกผักผลไม้ปลอดภัยใน 10 อาเภอ ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมเครือข่าย และทาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และใบสมัครเข้าร่วมโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมดมาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูป โดยใช้สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ SD) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสาหรับการแปลความหมายค่าเฉลี่ย (Joseph G. Van Mater & Glenn H. Gilbreath, 1987 : 798)

Related Works: