โครงการการศึกษาประสิทธิภาพและความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการลดการบริโภคโซเดียม โดยใช้โปรแกรม OneHealthTool

โครงการการศึกษาประสิทธิภาพและความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการลดการบริโภคโซเดียม โดยใช้โปรแกรม OneHealthTool

Download 37
Total Views 56
File Size 1,008.63 KB
File Type pdf
Download



Title: โครงการการศึกษาประสิทธิภาพและความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ของมาตรการลดการบริโภคโซเดียม โดยใช้โปรแกรม OneHealthTool
Authors: น.ส.พเยาว์ ผ่อนสุข, ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด
Issue Date: พฤศจิกายน 2561
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

Abstract

การบริโภคเกลือ/โซเดียมที่มากเกินความจำเป็นส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ (เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง) ในช่วงประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีความพยายามในการดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนบริโภคโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (หรือเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา) อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ชี้ชัดถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินการนโยบายและมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพคนไทยและค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการนโยบายและมาตราการดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินงานแต่ละมาตรการในการลดการบริโภคเกลือ/โซเดียม 2)เปรียบเทียบประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าของมาตรการลดการบริโภคเกลือและโซเดียมของคนไทย และ 3)จัดลำดับความสำคัญของมาตรการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลกำหนดแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของคนไทยจากการ บริโภคอาหารที่มีเกลือ/โซเดียมสูง การศึกษานี้ใช้กรอบข้อเสนอแนะมาตรการลดการบริโภคเกลือ/โซเดียม ของ The SHAKE package ขององค์การอนามัยโลกในการกำหนดขอบเขตการศึกษา ซึ่ง The SHAKE package ประกอบด้วย 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1) มาตรการเฝ้าระวัง 2) มาตรการสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม 3) มาตรการติดฉลากโภชนาการหน้าบรรจุภัณฑ์ 4) มาตรการรณรงค์สื่อสารมวลชน และ 5) มาตรการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

Related Works: