การสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียน กับทัศนคติ พฤติกรรมการซื้อ และการบริโภคอาหารของเด็กประถมศึกษา

การสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียน กับทัศนคติ พฤติกรรมการซื้อ และการบริโภคอาหารของเด็กประถมศึกษา

Download 41
Total Views 83
File Size 4.71 MB
File Type pdf
Download



Title: การสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียน กับทัศนคติ พฤติกรรมการซื้อ และการบริโภคอาหารของเด็กประถมศึกษา
Authors: นางสาวนงนุช ใจชี่น, นายพุฒิปัญญา เรืองสม
Issue Date: ปี 2558
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP)

Abstract

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีหลากหลายสาเหตุ โรงเรียนและสิ่งแวดล้อมภายในและบริเวณรอบๆ โรงเรียนก็เป็นสาเหตุหนึ่งมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดอาหารทัศนคติพฤติกรรมการซื้อ และการบริโภคอาหาร ที่มีต่อเด็กในโรงเรียนประถมศึกษา วิธีการศึกษาใช้การศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยดำเนินการในจาก 5 จังหวัดของประเทศไทย (กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 817 คน) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างตอบเอง การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดอาหาร ทัศนคติ พฤติกรรมการซือ้ และการบริโภคอาหารที่มีต่อเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยโลจิสติก การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตการณ์โดยใช้แบบสำรวจการสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียน (observation) ด้วยการบันทึกจากการสังเกตและการถ่ายรูปทั้ง ภายในและบริเวณรอบนอกโรงเรียน และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างนักเรียนและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน ผลการศึกษา พบว่า การเปิดรับการสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเชิงบวกต่อการสื่อสารการตลาด พฤติกรรมการซือ้ และการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพของเด็กประถมศึกษา การวิเคราะห์เนือ้ หากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของอาหารในและรอบรั้วโรงเรียน เป็นการสร้างมายาคติที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงให้แก่เด็ก และมีการละเมิดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพฯ ในข้อ 5 คือ การทำให้เกิดความสำคัญผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าบริการการแสดงหรืออื่นๆ หรือโอ้อวดสรรพคุณจนเกินความจริง นอกจากนียั้งพบว่า ทัง้ นักเรียนและคุณครูไม่รู้เท่าทันกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดอาหารของบริษัทอาหารกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของอาหารเป็ นการสร้ างมายาคติให้แก่เด็ก ดังนั้นภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาหรือออกกฎหมายหรือมาตรการควบคุมการสื่อสารการตลาดอาหารในโรงเรียน เพื่อปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของเด็ก

Related Works: