Title: พฤติกรรมการบริโภคและความเต็มใจที่จะจ่ายสำหรับผักผลไม้ปลอดภัยของประชาชนไทย
Authors: นางสาวประพิณวดี ศิริศุภลักษณ์, นางอิสริยา บุญญะศิริ
Issue Date: กุมภาพันธ์ 2559
Publisher: หน่วยงานวิจัยยุทธศาสตร์การเกษตร ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและการเข้าถึงผักผลไม้อินทรีย์ (2) ศึกษาการรับรู้ ความตระหนัก ทัศนคติต่อการบริโภคผักผลไม้อินทรีย์ (3) ศึกษาความเต็มใจที่จะ
จ่ายของผู้บริโภคต่อผักผลไม้อินทรีย์และ (4) ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะจ่ายของผู้บริโภคต่อผักผลไม้
อินทรีย์โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผู้บริโภครวมทั้งสิ้น 900 ตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างตาม
สัดส่วนประชากรแต่ละภูมิภาค แยกเป็น กรุงเทพมหานคร 80 ตัวอย่าง ภาคกลาง 200 ตัวอย่าง ภาคเหนือ
200 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 300 ตัวอย่าง และภาคใต้ 120 ตัวอย่าง และคัดเลือกจังหวัดที่เป็นตัวแทน
ภูมิภาคจากจังหวัดที่มีจํานวนประชากรมากและมีรายได้ต่อครัวเรือนหลายระดับในระดับสูง กลาง และต่ำ
โดยลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 31 ปี มีระดับการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี มีอาชีพธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ และพนักงานบริษัทเอกชน มากที่สุดและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณ 22,957 บาท
Related Works:
การพลิกแพลงกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงภายหลังประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมกา...
รายงาน ผลกระทบของการระบาดของโรคโควิค-19 และมาตรการทางสังคม ต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้ที่มีรายได้น้อ...
ช่องว่างเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนของประเทศไทย
รายงานฉบับสมบูรณ์ ถอดบทเรียนความสำเร็จเพื่อขยายผล กรณีศึกษา : โรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาสที่มีพัฒ...
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการทำงาน: กรณีศึกษาของแม่ในกรุงเทพมหานคร
รายงานประจำปี 2556 แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ