ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Download 312
Total Views 604
File Size 1.30 MB
File Type pdf
Download



Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี พฤกษา
Issue Date: 2559
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จานวน 1,336 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.87 ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สภาพความเป็นอยู่ ภาวะสุขภาพ ความรู้ ทัศนคติ และความชอบเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การดูแลของครอบครัว ลักษณะทางกายภาพของแหล่งอาหาร และปัจจัยด้านอาหาร โดยผู้สูงอายุเพศหญิงมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย 1.59 เท่า ผู้สูงอายุที่จบการศึกษาระดับการศึกษาประกาศนียบัตรขึ้นไปมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ากว่า 2.20-2.34 เท่า ผู้สูงอายุที่อยู่กับคู่สมรสบุตรหลานหรือญาติมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ลาพัง 2.21 เท่า ผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจาตัวมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่มีโรคประจาตัว 1.40 เท่า ผู้สูงอายุที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารระดับดีมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารระดับไม่ดี 2.00 เท่า ผู้สูงอายุที่มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารระดับดีมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารระดับไม่ดี 1.82 เท่า ผู้สูงอายุที่มีความชอบเกี่ยวกับการบริโภคอาหารระดับดีมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่มีความชอบเกี่ยวกับการบริโภคอาหารระดับไม่ดี 3.28 เท่า ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ดูแลครอบครัวมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่มีครอบครัวดูแล 1.59 เท่า ผู้สูงอายุที่ซื้ออาหารจากตลาดมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่ปลูกอาหารรับประทานเอง 1.67-1.70 เท่า และผู้สูงอายุที่มีปัจจัยด้านอาหารระดับดีมีโอกาสในการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับดีมากกว่าผู้สูงอายุที่มีปัจจัยด้านอาหารระดับไม่ดี 2.37 เท่า

Related Works: