สืบค้นสื่อเผยแพร่

  • เลือกหมวดหมู่:


คำค้นหา:


รายงาน ผลกระทบของการระบาดของโรคโควิค-19 และมาตรการทางสังคม ต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้ที่มีรายได้น้อยในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร

โรคโควิค-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ร้ายแรงที่ระบาดไปทั่วโลก เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและยังไม่มีแนวทางการรักษาที่ได้ผลชัดเจนรวมถึงยังไม่มีวัคซีนสำหรับใช้ป้องกันการติดต่อ การระบาดของโรคโควิค-19 มาตรการล็อกดาวน์ การจำกัดการเดินทางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และการห้ามการออกนอกเคหะสถานในเวลากลางคืน เป็นเหตุให้มีการปิดกิจการ เกิดการจำกัดการดำเนินธุรกิจหลายประเภทซึ่งตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทยครั้งใหญ่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการผลกระทบของการระบาดของโควิค-19 มาตรการควบคุมการระบาดและมาตรการเยียวยา ต่อความมั่นคงทางอาหาร ในผู้ที่มีรายได้น้อยในเขตชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบด้านความมั่นคงทางอาหาร และความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับแนวทางการจัดการปัญหา 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหารและลดผลกระทบจากภาวะวิกฤติที่เกิดจากโรคระบาดดังเช่นโควิค-19 ที่มีต่อผู้ที่มีรายได้น้อย ทำการศึกษาโดยการผสมวิธีวิทยา (Mixed methods) โดยการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross sectional study) ในผู้ที่อาศัยในชุมชนแออัด จำนวน 900 คน จาก 9 ชุมชน ในเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร และสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) ในผู้ที่อาศัยในชุมชนแออัดจำนวน 19 คน ที่เป็นผู้บริโภค ผู้จำหน่ายอาหารสำเร็จรูป และผู้จำหน่ายอาหารสด จาก 2 ชุมชนแออัด และตัวแทนเครือข่ายภาคประชาสังคมที่มีบทบาทโดดเด่นในการบรรเทาทุกข์ด้านความมั่นคงทางอาหารจำนวน 4 คน การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีอัตราป่วยและตายจากโรคโควิค-19 […]

Authors: สุลัดดา พงษ์อุทธา, คนางค์ คันธมธุรพจน์, กันณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล, พเยาว์ ผ่อนสุข
Issue Date: 2020
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

ช่องว่างเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนของประเทศไทย

ในเชิงนโยบาย ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญด้านมื้ออาหารกลางวันในโรงเรียนเป็นสำคัญ ในขณะที่มิติด้านอื่น ๆ ได้ถูกสอดแทรกไปตามยุทธศาสตร์ชาติต่าง ๆ มากมาย อาทิ กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย หรือยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ เป็นต้น สำหรับเครื่องมือนโยบายด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนพบว่ามีลักษณะเป็นโครงการของรัฐเป็นส่วนใหญ่ ทั้งโครงการในระดับรัฐบาลและโครงการหน่วยงานรัฐ (ระดับกระทรวง (กรม) ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง) โดยโครงการของรัฐบาลที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน (ริเริ่มพ.ศ.2495) และโครงการอาหารเสริม (นม) ในโรงเรียน (ริเริ่มพ.ศ.2535) นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการต่าง ๆ มากมายเพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนพัฒนาระบบการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน อาทิ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (กระทรวงสาธารณสุข) ที่กำหนดมาตรฐานการรับรองโรงเรียนสงเสริมสุขภาพระดับเพชร ทอง เงิน และทองแดง โครงการโรงเรียนต้นแบบนักเรียนไทยสุขภาพดี (กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งมีการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพของเด็กนักเรียน และ โครงการเด็กไทยแก้มใส (สสส.) ที่พยายามพัฒนารูปแบบการจัดการด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนที่ดีและยั่งยืน (Best Practice Model) เป็นแบบอย่างในการขยายผลทั่วประเทศ โดยโครงการเหล่านี้มีแนวทางในการดำเนินงานแบบองค์รวมครบวงจร ตามกรอบโยบายระหว่างด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียนที่องค์การระหว่างประเทศแนะนำ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมือนโยบายอื่น ๆ ที่สำคัญ อาทิ มาตรการโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการให้โรงเรียนหลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ […]

Authors: กมลพัฒน์ มากแจ้ง, อรทัย วลีวงศ์, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, สรศักดิ์ เจริญสิทธิ์
Issue Date: 2020
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

The Healthy Food Environment Policy Index (Food-EPI) in Thailand

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การทำวิจัยที่เกี่ยวข้องการประเมินผลนโยบายด้านอาหารและโภชนาการ” เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.00-15.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ชั้น 2 โดยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยภายในโครงการฯ เกี่ยวกับการประเมินผลนโยบายด้านอาหารและโภชนาการ โดยมีนักวิจัยในโครงการฯ เรียนรู้เรื่องการทำ The Healthy Food Environment Policy Index (Food-EPI)

Authors: Sirinya Phulkerd
Issue Date: 15 July 2020
Publisher: Food and Nutrition Policy for Health Promotion Program (FHP)

รายงานฉบับสมบูรณ์ ถอดบทเรียนความสำเร็จเพื่อขยายผล กรณีศึกษา : โรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาสที่มีพัฒนาการในการจัดการอาหารและโภชนาการที่ดีเพื่อเสนอแนวทางในการขยายผล

ABSTRACT การจัดการอาหารและโภชนาการที่ดีของโรงเรียนทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการและอยู่ในสภาพแวดล้อมทางอาหารที่เหมาะสมทำให้นักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการที่ดีรวมถึงได้เรียนรู้ทักษะชีวิตในการดูแลตนเอง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินชีวิตและเป็นต้นทุนสำคัญในการในพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต การศึกษาเรื่อง “ถอดบทเรียนความสำเร็จเพื่อเสนอแนวทางในการขยายผล กรณีศึกษา: โรงเรียนประถมศึกษาและขยายโอกาสที่มีพัฒนาการในการจัดการอาหารและโภชนาการที่ดี” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหาปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และกระบวนการที่มีผลต่อการพัฒนาโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จในการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน และ (2) ศึกษาทรัพยากรและสังเคราะห์แนวทางที่จำเป็นต่อการขยายผลการจัดการอาหารและโภชนาการสำหรับโรงเรียนในประเทศไทย ผลการศึกษาในภาพรวม พบว่า โรงเรียนที่ศึกษามีปัจจัยภายในที่เป็นปัจจัยตั้งต้นสำคัญในการดำเนินงานการจัดการอาหารและโภชนาการของโรงเรียนให้เกิดขึ้นได้ ในขณะที่มีปัจจัยสนับสนุนจากภายนอก ทั้งจากระดับประเทศ ระดับพื้นที่ และระดับชุมชน เป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้การทำงานเกิดขึ้นต่อเนื่องและประสบความสำเร็จได้ โดยสรุปปัจจัยดังกล่าวที่สำคัญได้ดังนี้ ปัจจัยความสำเร็จของโรงเรียน เริ่มต้นจากการเกิดจุดเปลี่ยนของโรงเรียน ซึ่งได้แก่การตระหนักถึงปัญหาของสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของนักเรียน และการตระหนักถึงปัญหาการจัดการอาหารและโภชนาการของโรงเรียน และโรงเรียนอาศัยปัจจัยกระบวนการภายในโรงเรียนในการดำเนินงานจนประสบความสำเร็จ ซึ่งได้แก่ 1. การกำหนดนโยบายของโรงเรียนและการดำเนินการจัดการอาหารและโภชนาการของโรงเรียนให้สอดคล้องกับปัญหาด้านโภชนการหรือพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน โดยองค์ประกอบการดำเนินงานของโรงเรียนแบ่งออกเป็น (1) การจัดทำแผนปฏิบัติการและโครงการของโรงเรียน (2) การจัดการอาหารกลางวันและสภาพแวดล้อมทางอาหารในโรงเรียน และ (3) การจัดการศึกษาโภชนาการและการส่งเสริมสุภาพ 2. การบริหารทรัพยากรของโรงเรียน แบ่งออกเป็น (1) การบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียน (2) การบริหารจัดการความรู้ของโรงเรียน และ(3) การบริหารจัดการงบประมาณอาหารกลางวันของโรงเรียน ในทีนี้รวมทั้งทรัพยากรภายในและภายนอกที่โรงเรียนได้รับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ทรัพยากรภายนอกที่โรงเรียนได้รับ ได้แก่ (1) […]

Authors: นางสาว ณัฎฐณิชา แปงการิยา, นาย กัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล, นางสาวพเยาว์ ผ่อนสุข, ดร.ภญ.อรทัย วลีวงศ์, ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์
Issue Date: ตุลาคม 2563
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ FHP

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการทำงาน: กรณีศึกษาของแม่ในกรุงเทพมหานคร

ABSTRACT ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลายประการ ได้แก่ ปัจจัยจากตัวแม่เอง ปัจจัยจากคนรอบข้าง ครอบครัวและชุมชน บรรทัดฐานของสังคม ตลอดจนระบบบริการสุขภาพ สำหรับแม่ที่ทำงาน การทำงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญโดยเป็นอุปสรรคขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงต่าง ๆโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก รวมถึงการให้นมแม่ต่อเนื่องหลังครบ 6 เดือนแรกด้วย โดยจากการวิจัยพบว่าการทำงาน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แม่ในประเทศไทย ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนครบ 6 เดือนได้ จากข้อมูลงานวิจัยที่ผ่านมา ปัจจัยการทำงานของแม่ที่ส่งผลให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประกอบด้วย ลักษณะการประกอบอาชีพ (เช่น การทำธุรกิจส่วนตัว การเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน) สถานที่ทำงานและระเบียบที่เกี่ยวข้องของสถานที่ทำงาน (เช่น สิทธิและระยะเวลาที่ให้ลาคลอด การจัดสถานที่สำหรับแม่เพื่อบีบเก็บน้ำ) นอกจากนี้ ความเครียดของแม่ระหว่างการทำงานยังส่งผลทำให้ปริมาณน้ำนมของแม่ลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีช่องว่างของความรู้ที่สำคัญอีกหลายประการที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะทัศนคติ พฤติกรรม และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่ทำงาน เพื่อนำไปใช้พัฒนานโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย การศึกษาชิ้นนี้จึงสนใจศึกษามุมมองของแม่ต่อการต้องทำหน้าที่ในสองบทบาทคือการเป็นแม่ให้นมลูกและเป็นผู้หญิงทำงาน ว่ามีแนวคิด มีการวางแผน บริหารจัดการตัวเอง และมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถให้นมลูกต่อได้อย่างไร โดยเฉพาะแม่ทำงานในเขตเมือง โดยเป็นการศึกษากรณีตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทำความเข้าใจทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่ในเขตเมือง (2) เพื่อศึกษาการวางแผน การบริหารจัดการ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำงานในเขตเมือง […]

Authors: แพทย์หญิงชมพูนุท โตโพธิ์ไทย นายกัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล, นายแพทย์ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, นายสรศักดิ์ เจริญสิทธิ์, ดร.นพ.ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี, ดร.ภญ.วลัยพร พัชรนฤมล, ดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร
Issue Date: ตุลาคม 2563
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ FHP
1 2 3 4 40