มาตรการภาษีเกลือและโซเดียมในประเทศไทย

มาตรการภาษีเกลือและโซเดียมในประเทศไทย

Download 64
Total Views 133
File Size 379.24 KB
File Type pdf
Download



Title: มาตรการภาษีเกลือและโซเดียมในประเทศไทย
Authors: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
Issue Date: พฤศจิกายน 2561
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

Abstract

สถานการณ์การบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย องค์การอนามัยโลกได้แนะนาให้ประชาชนบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เทียบเท่าเกลือ 5 กรัม หรือ 1 ช้อนชา (1) แต่จากการสารวจการบริโภคเกลือหรือโซเดียมคลอไรด์ของประชากรไทยใน พ.ศ. 2550 พบว่า คนไทยบริโภคโซเดียมคลอไรด์โดยเฉลี่ย 10.9 กรัม โดยมาจากเครื่องปรุงรสต่างๆ ประมาณ 8 กรัม และหากคานวณเป็นปริมาณโซเดียม พบว่า คนไทยบริโภคโซเดียมมากถึง 4,352 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน (2) ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนาถึง 2 เท่า เมื่อพิจารณาถึงอาหารที่มีโซเดียมที่ประชาชนนิยมรับประทานมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 คือ บะหมี่กึ่งสาเร็จรูป (ร้อยละ 60) ซึ่งมีปริมาณโซเดียมประมาณ 977 มิลลิกรัมต่อ 1 ซอง (3) รองลงมาเป็นปลากระป๋อง (ร้อยละ 49) ปลาทูนึ่ง (ร้อยละ 47) และน้าพริกต่างๆ (ร้อยละ 45) ตามลาดับ นอกจากนี้ ยังพบว่าประชาชนส่วนมาก (ร้อยละ 60-90) นิยมใช้เครื่องปรุงรสต่างๆ ทั้งน้าปลา เกลือ ซีอิ้วขาว กะปิ ผงปรุงรส และน้ามันหอย ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณสูงในการประกอบอาหารเพื่อรับประทานภายในครัวเรือน (2)