กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ของประเทศไทยและต่างประเทศ

กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ของประเทศไทยและต่างประเทศ

Download 54
Total Views 98
File Size 3.81 MB
File Type pdf
Download



Title: กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ของประเทศไทยและต่างประเทศ
Authors: นางสาวนงนุช ใจชื่น
Issue Date: 2556
Publisher: แผนงานงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP)

Abstract

หนึ่งในมาตรการป้องกันปัญหาการโฆษณาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ของเด็ก คือ กฎหมายหรือมาตรการในการควบคุมการโฆษณา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ของประเทศไทยและต่างประเทศ วิธีการศึกษา การสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้านกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับอาหารและ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ของประเทศไทยและต่างประเทศ ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546-2555) ผ่านฐานข้อมูลของภาครัฐ องค์กรอิสระ ฐานข้อมูลมติชนออนไลน์ และการใช้ Google search engine โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ ไทย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา บราซิล ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เพื่อศึกษากฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและ เครื่องดื่มฯ ผลการศึกษา พบว่า วิวัฒนาการของกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง ของประเทศไทยและต่างประเทศ เกิดขึ้น จากความต้องการของ 4 ภาคส่วน คือ 1. ภาคประชาสังคม 2. ภาครัฐ 3. ภาคธุรกิจเอกชนหรืออุตสาหกรรม และ 4. องค์กร ระหว่างประเทศ โดยเนื้อหาของกฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มฯ ทั้ง 6 ประเทศ มีข้อความระบุตรงกันในเรื่องของการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต้องเป็นความจริง ห้ามใช้ ข้อความที่เป็นเท็จ เกินความจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ หรือไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับสินค้า นอกจากนี้ ในแต่ละประเทศต่างมีข้อกำหนดเรื่องการจำกัดระยะเวลาและช่วงเวลาในการโฆษณาที่ แตกต่างกัน กลไกของการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มฯ ของประเทศไทยและต่างประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลไก ได้แก่ 1. การบังคับใช้กฎหมายโดยหน่วยงาน ภาครัฐหรือองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ 2. การกำกับดูแลตนเองของหน่วยงานภาคธุรกิจเอกชน และ 3. การ กำกับดูแลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรอิสระหรือองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานภาค ธุรกิจเอกชนหรืออุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง กับการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มฯ โดยผ่านทั้ง 3 กลไก ยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร ดังนั้น ภาครัฐควรพัฒนากฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูงในประเทศไทย เพื่อมีมาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็กและ เยาวชนที่ชัดเจนและเหมาะสม