ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย

ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย

Download 10
Total Views 37
File Size 223.16 KB
File Type pdf
Download



Title: ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย ตามชุดข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก.
Authors: นงนุช ใจชื่น, ทักษพล ธรรมรังศี, สิรินทร์ยา พูลเกิด, วาทินี คุณเผือก
Issue Date: กรกฎาคม - กันยายน 2558
Publisher: สถาบันวิจัยระบบสาธาณสุข

Abstract

การทำการตลาดอาหารและโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมันและเกลือสูงนับเป็นปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและสุขภาพของเด็ก การประชุมสมัชชาอนามัยโลกปี พ.ศ.2553 ได้มีมติรับรองชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก โดยให้ดำเนินการระดับโลกในการสนับสนุนกระบวนการทางนโยบายและกลไกอันจะนำไปสู่การลดผลกระทบต่อเด็กจากการทำการตลาดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ น้ำตาล หรือเกลือในปริมาณสูง ชุดข้อเสนอแนะนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 12 ข้อ จำแนกออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1.ที่มาและเหตุผล 2.การพัฒนานโยบาย 3.การนำนโยบายไปใช้ 4.การติดตามและประเมินผลนโยบาย และ 5.การวิจัย บทความนี้เป็นการศึกษาสถานการณ์ ช่องว่างและโอกาสของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมาตราการในการควบคุมการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็กของประเทศไทยที่สอดคล้องกับชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็กขององค์การอนามัยโลก โดยวิเคราะห์ในสามประเด็น ได้แก่ กลไกการพัฒนานโยบาย กลไกการนำไปปฏิบัติและกลไกการติดตามและประเมินผล ทั้งนี้ จากการทบทวนสถานการณ์ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรการในการควบคุมการตลาดอาหารและการโฆษณษอาหารและเครื่องดื่มในเด็กภายในประเทศไทย สรุปได้ว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการทำตลาดอาหารและการโฆษณาอาหารที่สามารถนำไปปรับใช้ได้บางส่วน เพื่อควบคุมการสื่อสารการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ น้ำตาล หรือเกลือในปริมาณสูงในเด็ก อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร และยังขาดกฎหมายเฉพาะการทำการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็ก