Title: ความเป็นไปได้ในการขยายวันลาคลอดจาก 90 วันเป็น 180 วันในกลุ่มหญิงวัยทํางานในประเทศไทย
Authors: นิศาชล เศรษฐไกรกุล,ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, ทักษพล ธรรมรังสี, สุลัดดา พงษ์อุทธา, วาทินี คุณเผือก, ภูษิต ประคองสาย
Issue Date: กรกฎาคม - สิงหาคม 2558
Publisher: กระทรวงสาธารณสุข
Abstract
ปัจจุบันแรงงานหญิงมีสิทธิลาคลอด 90 วันตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งน้อยกว่าข้อตกลงของ International Labour Organization (ILO) ในอนุสัญญาฉบับที่ 183 ปี ค.ศ.2000 ที่กําหนดให้หญิงทํางานควรมีสิทธิ์ลาคลอดอย่างน้อย 14 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม จากหลายการศึกษาพบว่าหากแม่ได้ลาคลอดในระยะเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งหน่วยงานมีนโยบายสนับสนุนเกี่ยวกับการให้นมบุตร จะทําให้ มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายวันลาคลอดจาก 90 วัน เป็น 180 วัน หรือการใช้มาตรการอื่นที่เหมาะสมในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงทํางานในประเทศไทย โดยทําการศึกษาด้วยวิธีการสํารวจภาคตัดขวาง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้าผ่านแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า เหตุผลส่วนใหญ่ที่แรงงานหญิงลาคลอดไม่ครบ 90 วันคือการไม่อยากขาดรายได้และการขาดแคลนบุคลากรของหน่วยงาน และผลกระทบหากมีการขยายวันลาคลอดไป 180 วัน คือกลุ่มลูกจ้างจะมีผลกระทบต่อรายได้และเศรษฐกิจในครัวเรือน ขณะที่นายจ้างจะมีผลกระทบในเรื่องของกําลังคนในการดําเนินงาน ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายมีข้อเสนอแนะต่อการขยายวันลาคลอด คือ ควรจะมีการกําหนดเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการลาคลอดให้ชัดเจนและมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง รวมถึงควรมีกฎหมายอื่นที่เป็นแรงจูงใจให้กับนายจ้างและลูกจ้าง นอกจากนี้อาจกําหนดลักษณะวันลาคลอดให้มีความยืดหยุ่นหรือมีหลายทางเลือกตามความต้องการของลูกจ้าง หรือค่อยๆ เพิ่มสิทธิการลาคลอด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเสนอแนวทางอื่นเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกในสถานประกอบการ คือ การจัดมุมนมแม่ การจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ และการเพิ่มเวลาพักเบรกให้แม่ที่ให้นมบุตร จากผลการศึกษายังบ่งชี้ว่า การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงวัยทํางานต้องเป็นการทํางานร่วมกันแบบบูรณาการโดย
กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีบทบาทในการให้ความรู้และช่วยเหลือแม่ในสถานประกอบการ
เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประเทศไทยควรมีการดําเนินงานด้านกฎหมาย และด้านสังคม ควบคู่กันไปด้วย
Related Works:
Declaration of nutrition information on and nutritional quality of Thai ready-to-eat packaged food p...
A Review of methods and tools to assess the implementation of government policies to create healthy ...
Level of implementation of best practice policies for creating healthy food environments
Unhealthy food and non-alcoholic beverage advertising on children's, youth and family free-to-air an...
Corporate political activity of major food companies in Thailand: an assessment and policy recommend...
Childhood stunting in Thailand: when prolonged breastfeeding interacts with household poverty