Title: การจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: นงนุช ใจชื่น, พเยาว์ ผ่อนสุข, สรินทร์ยา พูลเกิด, สุรศักดิ์ ไชยสงค์ และทักษพล ธรรมรังสี
Issue Date: มกราคม – มีนาคม 2555
Publisher: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
Abstract
หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเพิ่มขึ้นของภาวะโรคอ้วนในเด็ก คือการโฆษณาของอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อความชอบอาหารและพฤติกรรมการบริโภคของเด็ก การโฆษณาจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญทางการตลาดในการสร้างการจดจำยี่ห้ออาหาร โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้เด็กมีการบริโภคอาหารเพิ่มมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนตัวและครอบครัว และข้อมูลด้านโภชนาการของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ กับความสามารถในการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาได้ วิธีการศึกษา ได้เจาะจงเลือกเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ทั้งหมดจำนวน ๔๕๓ คน และเลือกตัวอย่างโรงเรียนตามสะดวก จากโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานครและจังหวัดเพชรบุรี และใช้แบบสอบถามประเภทให้กรอกคำตอบเอง เพื่อสำรวจข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนและครอบครัว ข้อมูลด้านโภชนาการ และการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารของนักเรียน ผลการศึกษา พบว่า เด็กนักเรียนร้อยละ ๖๔.๗ (๒๓๙ คน) สามารถจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณาได้ โดยตอบถูกทุกยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารในข้อถามทั้งหมด ๑๔ ข้อ เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ โดยบริโภคขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม ฟาสต์ฟู้ด และเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มากกว่าบริโภคผักและผลไม้ นอกจานี้ ความสามารถในการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณามีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับการศึกษาของบิดาและมารดา และอาชีพของมารดา การบริโภคอาหารเช้าทุกวัน การบริโภคขนมขบเคี้ยวที่มีรสเค็มและฟาสต์ฟู้ด ดังนั้น ความสามารถในการจำยี่ห้อผลิตภัณฑ์อาหารที่โฆษณามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน อย่างไรก็ตาม การรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพควรมุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนตระหนักในการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะมีผลต่อการเกิดโรคอ้วน
Related Works:
Declaration of nutrition information on and nutritional quality of Thai ready-to-eat packaged food p...
A Review of methods and tools to assess the implementation of government policies to create healthy ...
Level of implementation of best practice policies for creating healthy food environments
Unhealthy food and non-alcoholic beverage advertising on children's, youth and family free-to-air an...
Corporate political activity of major food companies in Thailand: an assessment and policy recommend...
Childhood stunting in Thailand: when prolonged breastfeeding interacts with household poverty