ความแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรไทย

ความแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรไทย

Download 19
Total Views 41
File Size 267.26 KB
File Type pdf
Download



Title: ความแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรไทย: ลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคม และสถานะสุขภาพส่งผลอย่างไร
Authors: ชัชวาลย์ เผ่าเพ็ง, สุลัดดา พงษ์อุทธา
Issue Date: กรกฎาคม - กันยายน 2560
Publisher: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

Abstract

พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุสําคัญที่นําไปสู่โรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์ความเกี่ยวข้องระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ ประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กับปัจจัยด้านลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงสถานะสุขภาพที่เกี่ยวข้อง พฤติกรรมการบริโภคอาหารในที่นี้ศึกษาการดื่มเครื่องดื่มรสหวานและการรับประทานผักและผลไม้สด 4 ทัพพีขึ้นไป ต่อวัน ด้วยแบบจําลอง multiple logistic regression โดยใช้ข้อมูลจากการสํารวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 ผลการศึกษาพบว่า เมื่อจําแนกตามอายุ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา (อายุ 15-24 ปี) มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมการบริโภค อาหารที่เสี่ยงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่นๆ อีกทั้งยังมีโอกาสเป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มรสหวานสูงกว่าและรับประทานผักและ ผลไม้สด 4 ทัพพีขึ้นไปน้อยกว่า เมื่อจําแนกตามอาชีพพบว่า ผู้ที่เป็นลูกจ้างทั้งลูกจ้างรัฐบาล/รัฐวิสาหกิจและลูกจ้าง เอกชนมีโอกาสเป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มรสหวานสูงกว่าผู้ประกอบธุรกิจตนเอง/ผู้ช่วยธุรกิจครัวเรือน และเมื่อพิจารณาตาม เศรษฐฐานะพบว่า ยิ่งมีระดับเศรษฐฐานะสูงขึ้นยิ่งมีโอกาสเป็นผู้ดื่มเครื่องดื่มรสหวานสูงขึ้น นั่นคือ ผลการศึกษานี้ชี้ ให้เห็นกลุ่มเสี่ยงที่ประกอบด้วยกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ลูกจ้างรัฐบาล/รัฐวิสาหกิจและลูกจ้างเอกชน และผู้ที่มีความ สามารถซื้อเครื่องดื่มรสหวานสูงตามเศรษฐฐานะ ดังนั้น ควรมีมาตรการที่มุ่งเป้าไปที่กลุ่มดังกล่าว เช่น การส่งเสริม การบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพของสถานศึกษาและสถานที่ทํางาน การใช้มาตรการด้านภาษีและราคาเพื่อส่งเสริมให้มี โอกาสเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงการสร้างความตระหนักและการให้ความรู้แก่ประชาชนในการบริโภค อาหารที่ถูกหลักโภชนาการ