สถานการณ์การจัดอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในประเทศไทย

สถานการณ์การจัดอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในประเทศไทย

Download 11
Total Views 36
File Size 472.17 KB
File Type pdf
Download



Title: สถานการณ์การจัดอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในประเทศไทย
Authors: วาทินี คุณเผือก, สิรินทร์ยา พูลเกิด, ทักษพล ธรรมรังสี, นิศาชล เศรษฐไกรกุล, สุลัดดา พงษ์อุทธา
Issue Date: กรกฎาคม - สิงหาคม 2558
Publisher: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

Abstract

ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้มีการกำหนดมาตรฐานการจัดอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านโภชนาการ อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางวิชาการแสดงให้เห็นว่า ศพด. จำนวนหนึ่ง มีการจัดอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน หรือโซเดียมสูงซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการเกินในเด็ก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิณสถานการณ์การดำเนินงานด้านการจัดอาหารใน ศพด. ในประเทศไทยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลทั่วไปและการจัดการอาหารจากกลุ่มตัวอย่าง ศพด. จำนวน 410 แห่ง ซึ่งเป็นตัวแทน ศพด.ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่สนใจ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ศพด. ขนาดใหญ่และขนาดกลางที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ให้เด็กมากกว่า ศพด. ขนาดเล็กทีตั้งอยู่นอกเขตอำเภอเมือง การจัดอาหารประเภทขนมไทย นมเปรี้ยว นมหวาน และน้ำอัดลม พบมากที่สุดทั้งใน ศพด. ที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง (ร้อยละ 67, 12.7, 10.2 และ 1.7 ตามลำดับ) และ ศพด. ขนาดใหญ่ (ร้อยละ 75.8, 18.1, 12.1 และ 3 ตามลำดับ) อาหารประเภทน้ำหวาน ขนมกรุบกรอบ และของหวาน พบว่ามีการจัดมากที่สุดใน ศพด.ที่ตั้งอยู่นอกเขตเมือง (ร้อยละ 14.4, 12.7 และ 9.9 ตามลำดับ) และใน ศพด.ขนาดเล็ก (ร้อยละ 17.5, 13.4 และ 10.1 ตามลำดับ) บุคลากรในศพด.ขนาดใหญ่และตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองได้รับการอบรมโภชนาการมากกว่าบุคลากรที่อยู่ ใน ศพด. ขนาดเล็กและตั้งอยู่นอกเขตอำเภอเมือง ศพด.ที่มีบุคลากรที่ได้รับการอบรมโภชนาการ พบว่า จัดอาหารที่มีพลังงานสูงหลายชนิดให้เด็ก ทั้งนี้ควรสนับสนุนให้มีระบบติดตามและประเมินการนำมาตรฐานกลางไปใช้ในการจัดอาหารใน ศพด. สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของนักโภชนาการในท้องถิ่น มีการจัดอบรมและการทบทวนความรู้ ด้านโภชนาการแก่บุคลากรทั้งใน ศพด. และองค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งควบคุมคุณภาพการจัดอบรมโภชนาการและกระจายโอกาสการอบรมให้บุคลากรอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ศพด. ทุกแห่ง