สืบค้นสื่อเผยแพร่

  • เลือกหมวดหมู่:


คำค้นหา:


ทำไม “กฎหมาย” ถึงจำเป็นในการปกป้องและสร้างเสริมสุขภาพประชาชน : กรณีศึกษาจากการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

Authors: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
Issue Date: มีนาคม 2566
Publisher: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

ส่องกลยุทธ์การโฆษณา และการตลาดในช่องทางออนไลน์ ของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง: เมื่อสุขภาพและโภชนาการเด็กและเยาวชนไทยถูกคุกคามผ่านอินเทอร์เน็ต

สภาพแวดล้อมของเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะสื่อโฆษณาและการตลาดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพในทุกช่องทาง โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพและภาวะโภชนาการที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย การควบคุมการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพถือเป็น “การป้องกันสิทธิเด็กโดยเฉพาะจากการหาผลประโยชน์ทางการค้าและสิทธิในการมีสุขภาพที่ดีของเด็ก” โดยมีเป้าหมายเพื่อ “การลดการเข้าถึงสื่อโฆษณาของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพและลดอิทธิพลของสื่อโฆษณาต่อพฤติกรรมการบริโภคและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารของเด็ก ตลอดจนการปกป้องการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือการตลาด” เหล่านี้สอดคล้องการข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกและงานวิชาการในระดับนานาชาติ

Authors: อรทัย วลีวงศ์, ญาณิศา พุ่มสุทัศน์, รุจิรา อธิบาย, พเยาว์ ผ่อนสุข, กฤตินันท์ บุญรำาไพ, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์
Issue Date: สิงหาคม 2565
Publisher: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
Authors: ทิภาภรณ์ จันทมา, พเยาาว์ ผ่อนสุข
Issue Date: พฤศจิกายน 2564
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (FHP)

การพลิกแพลงกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงภายหลังประกาศใช้ พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560

การวิจัยเรื่อง “การพลิกแพลงกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงภายหลัง ประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560” ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการติดตาม สัมภาษณ์ สังเกตกลยุทธ์การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขณะที่การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ความถี่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติไคสแควร์ทดสอบสมมติฐานทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า บริษัทนมผงกระทำการที่เข่าข่ายละเมิดกฎหมายชัดเจน ได้แก่ โฆษณานมผงสำหรับทารกในสื่อมออนไลน์ การโฆษณานมผงสำหรับทารก ณ จุดขายที่จัดกิจกรรมการตลาดเข้าข่ายละเมิดกฎหมายมาตรา 14 การลดราคานมผงสำหรับทารก การให้สิทธิแลกของรางวัลเมื่อซื้อนมผงสำหรับทารกเข้าข่ายละเมิดกฎหมายมาตรา 18 วรรคหนึ่ง (1) ติดต่อหญิงตั้งครรภ์ หญิงมีบุตรซึ่งเป็นทารกหรือเด็กเล็กผ่านทางโทรศัพท์ โปรแกรมสนทนาออนไลน์ เข้าข่ายละเมิดกฎหมายมาตรา 18 วรรคสี่ (4) ประเด็นความแตกต่างระหว่างฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกกับนมผงสำหรับเด็กเล็กผล การสำรวจความคิดเห็นของสตรีวัยเจริญพันธุ์ พบว่า ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กกับนมผง สำหรับทารกมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย และไม่ชัดเจน เข้าข่ายละเมิดมาตรา 15 ที่กำหนดให้ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกกับนมผงสำหรับเด็กเล็กต้องแตกต่างอย่างชัดเจนและแยกแยะได้โดยง่าย อดีตการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดนมผงเป็นพฤติกรรมละเมิด CODE ปัจจุบันประเทศมีกฎหมายบังคับใช้ การละเมิดไม้ได้ลดลงแต่กลับเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้นพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ควรเพิ่มขอบเขตการควบคุมไปถึงนมผงสำหรับเด็กเล็ก (สูตร 3) และควบคุมการโฆษณาโดยตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดในสื่อสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ รวมถึงดำเนินคดีบริษัทนมผงที่ละเมิดกฎหมายอย่างจริงจัง

Authors: บวรสรรค์ เจี่ยดำรง, ดุษฎี นิลดำ, สุพัตรา ธรรมวงษ์, เหมือนฝัน คงสมแสวง, สมพงษ์ เส้งมณีย์, กชกร ทองล้อม
Issue Date: 2020
Publisher: แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
1 2 3 40