Title: ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย ตามชุดข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก.
Authors: นงนุช ใจชื่น, ทักษพล ธรรมรังศี, สิรินทร์ยา พูลเกิด, วาทินี คุณเผือก
Issue Date: กรกฎาคม - กันยายน 2558
Publisher: สถาบันวิจัยระบบสาธาณสุข
Abstract
การทำการตลาดอาหารและโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมันและเกลือสูงนับเป็นปัจจัยแวดล้อมสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและสุขภาพของเด็ก การประชุมสมัชชาอนามัยโลกปี พ.ศ.2553 ได้มีมติรับรองชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็ก โดยให้ดำเนินการระดับโลกในการสนับสนุนกระบวนการทางนโยบายและกลไกอันจะนำไปสู่การลดผลกระทบต่อเด็กจากการทำการตลาดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ น้ำตาล หรือเกลือในปริมาณสูง ชุดข้อเสนอแนะนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 12 ข้อ จำแนกออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1.ที่มาและเหตุผล 2.การพัฒนานโยบาย 3.การนำนโยบายไปใช้ 4.การติดตามและประเมินผลนโยบาย และ 5.การวิจัย บทความนี้เป็นการศึกษาสถานการณ์ ช่องว่างและโอกาสของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมาตราการในการควบคุมการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็กของประเทศไทยที่สอดคล้องกับชุดข้อเสนอแนะว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ในเด็กขององค์การอนามัยโลก โดยวิเคราะห์ในสามประเด็น ได้แก่ กลไกการพัฒนานโยบาย กลไกการนำไปปฏิบัติและกลไกการติดตามและประเมินผล ทั้งนี้ จากการทบทวนสถานการณ์ด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรการในการควบคุมการตลาดอาหารและการโฆษณษอาหารและเครื่องดื่มในเด็กภายในประเทศไทย สรุปได้ว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการทำตลาดอาหารและการโฆษณาอาหารที่สามารถนำไปปรับใช้ได้บางส่วน เพื่อควบคุมการสื่อสารการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันอิ่มตัว กรดไขมันทรานส์ น้ำตาล หรือเกลือในปริมาณสูงในเด็ก อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร และยังขาดกฎหมายเฉพาะการทำการตลาดและการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในเด็ก
Related Works:
Declaration of nutrition information on and nutritional quality of Thai ready-to-eat packaged food p...
A Review of methods and tools to assess the implementation of government policies to create healthy ...
Level of implementation of best practice policies for creating healthy food environments
Unhealthy food and non-alcoholic beverage advertising on children's, youth and family free-to-air an...
Corporate political activity of major food companies in Thailand: an assessment and policy recommend...
Childhood stunting in Thailand: when prolonged breastfeeding interacts with household poverty